วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือกใช้ยา ?

เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย จำเป็นต้องอาศัยยา เพื่อบำบัดรักษา ในการซื้อยาทุกครั้ง ควรพิจารณาดังนี้


1. ซื้อยาจากร้านยาที่ได้รับอนุญาต และมีเภสัชกรประจำอยู่เท่านั้น
2. ยาวางจำหน่ายในตู้ที่สะอาด ไม่ร้อน หรืออับชื้นมากเกินไป
3. ภาชนะบรรจุยาสะอาด ฉลากยาอ่านชัดเจน ชื่อยาที่ปรากฎ มี 2 ชนิด คือ ชื่อสามัญ (generic name)
และ ชื่อการค้า (trade name)
ชื่อ สามัญ เป็นชื่อเรียกตามสูตรทางเคมี หรือเป็นส่วนประกอบของสารประเภทใด เช่น แอสไพริน (aspirin) เป็นชื่อเรียกสูตรเคมีของยาแก้ปวด แต่ชื่อสามัญจะเป็นชื่อที่ค่อนข้างยาว และจำได้ยาก ทำให้ไม่เป็นที่นิยมจำ
ชื่อการค้า เป็นชื่อที่ผู้ผลิตหรือตัวแทน จำหน่ายยานั้น เป็นผู้ตั้งและขอจดทะเบียนไว้กับ
กระทรวงสาธารณสุข การตั้งชื่อทางการค้า จะเป็นชื่อที่น่าสนใจ จำง่าย
4. ไม่ควรซื้อยาตามตัวอย่างที่มีอยู่ เพราะยามีมากมาย ยาที่มีรูปร่างและสีเดียวกัน แต่ใช้รักษา
โรคแตกต่างกัน มีมาก ไม่ควรซื้อยาด้วยวิธีนี้
5. สอบถามวิธีใช้ยาที่ถูกต้องให้แน่ชัดจากผู้ขาย หรือที่ปรากฏบนฉลากยา
ขนาด ยาที่ใช้
ในกรณียาน้ำ การบอกขนาดเป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ สามารถเปรียบเทียบหน่วย มาตรฐานดังนี้
1 ช้อนชา (มาตรฐาน) = 5 มิลลิลิตร = 2 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 1 ช้อนกินข้าว
1 ช้อนโต๊ะ (มาตรฐาน) =15 มิลลิลิตร = 6 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 3 ช้อนกินข้าว
6. ยากลุ่มปฏิชีวนะ ควรซื้อในจำนวนที่รักษาโรคให้หายโดยคำแนะนำของ เภสัชกรประจำร้าน
7. ถ้าสามารถพาผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยมาซื้อได้ยิ่งดี เพราะเภสัชกร อาจต้องสอบถามอาการ เจ็บป่วย
8. ควรสอบถามอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรบอกยาที่มี ประวัติแพ้ให้เภสัชกรทราบทุกครั้ง
เมื่อจะซื้อยา
9. เมื่อมีปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ควรรีบปรึกษาเภสัชกรประจำร้าน ที่ท่านซื้อยาทันที
10. เมื่อซื้อยาทุกครั้ง ควรอ่านสลากยาหรือเอกสารกำกับยา ซึ่งระบุ ชื่อยา วันผลิต และ วันหมดอายุยา ลักษณะยาไม่เสื่อมสภาพ และข้อห้ามใช้
“วันหมดอายุ ยา” ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ โดยทั่วไปดูจากวันผลิต กรณียาเม็ดไม่เกิน 5 ปี และกรณียาน้ำ และยาทาเฉพาะที่ไม่เกิน 3 ปี วันหมดอายุ อาจจะระบุเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ยาหมดอายุเดือนธันวาคม 2540 จะมีข้อความดังนี้
ที่ มา กระทรวงสาธารณสุข

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More