วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การบริหารจัดการด้านการตลาด (2)


2. การกำหนดราคา (PRICE)   ราคาเป็นมูลค่าที่กำหนดขึ้นโดยผู้ขาย ที่ผู้ซื้อให้การ  ยอมรับ ปัจจัยในการกำหนดราคา มาจากต้นทุนบวกกำไรที่ผู้ขายต้องการ โดยเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินและเติบโตได้ การกำหนดราคามีความสำคัญมาก เพราะนโยบายกำหนดราคามีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ หากกำหนดราคาไม่เหมาะสม เช่นกำหนดราคาสูงเกินไป สินค้าอาจขายไม่ได้หรือขายได้ในปริมาณน้อย ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ฉะนั้นจึงต้องกำหนดราคาให้เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจแต่ละประเภท เนื่องจากสภาวะการแข่งขัน  ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องปรับราคาให้เหมาะสม กับสภาวะตลาดของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งทางร้านสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ในการสร้างฐานลูกค้า โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบัน การตัดสินใจของลูกค้าจะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการจ่ายเงินซื้อสินค้า ลูกค้าไม่เพียง คำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ความสะดวกในการเดินทางก็เป็นต้นทุนหนึ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ เพราะถ้าต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อไปซื้อสินค้าราคาถูก เมื่อคำนวนแล้วไม่คุ้ม ลูกค้าอาจยอมซื้อสินค้าแพงขึ้นแต่สะดวกกว่า พฤติกรรมลูกค้าเริ่มเปลี่ยนไป จะให้ความสำคัญ  ในเรื่อง ต้นทุนการจัดซื้อ ด้วย (COST TO BUY)  แต่อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ราคาเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
3. การจัดจำหน่าย  (PLACE OR DISTRIBUTION)   หมายถึงขบวนการจัดการให้สินค้าถึงมือผู้บริโภค  ซึ่งประกอบด้วย
n  ช่องทางการจำหน่ายสินค้า (CHANNEL OF DISTRIBUTION)                           
สำหรับร้านขายยา แบ่งช่องทางการจำหน่ายสินค้าออกเป็น 2 ช่องทางคือ
-          ค้าปลีก (RETAILS)    เป็นการจำหน่ายตรงถึงผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าที่ร้าน  สัดส่วนกำไรขั้นต้น จะมากน้อยขึ้นอยู่กับ นโยบายการตั้งราคาของแต่ละร้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15-30 %
-          ค้าส่ง (WHOLESALES)   เป็นการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางเพื่อจะนำ   ไปขายถึงผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง สัดส่วนกำไรขั้นต้นจะน้อยกว่าค้าปลีก แต่ปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละรายจะมากกว่า  โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3-10 %
n  การแจกจ่ายสินค้า (PHYSICIAL DISTRIBUTION)                           
คือการจัดส่งสินค้าถึงผู้บริโภคหรือลูกค้า ซึ่งจะพิจารณาถึงความสะดวกของผู้ซื้อ (CONVENIENCE TO BUY)  โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ  และสินค้าถึงลูกค้าทันเวลา
กรณีค้าปลีก  สินค้าชิ้นเล็กส่วนใหญ่ลูกค้าจะนำไปเอง ยกเว้นสินค้าชิ้นใหญ่มากเช่น เตียง รถเข็น ถ้าลูกค้าไม่มีรถมา เราจะต้องพร้อมในการบริการจัดส่งให้ถึงที่ โดยอาจจะคิดค่าบริการขนส่งเพิ่มในราคาที่เป็นธรรม หรือบริการฟรี เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า  ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละร้าน
กรณีค้าส่ง  โดยส่วนใหญ่ ลูกค้าต้องการให้จัดส่งถึงสถานที่ลูกค้า ซึ่งเราจะต้องพร้อมบริการ ถ้าลูกค้าอยู่ในพื้นที่ไม่ไกลนัก อาจจะจัดส่งโดยมอเตอร์ไซค์หรือรถกระบะ แต่ถ้าอยู่ต่างอำเภอหรือจังหวัด ที่ต้องใช้เวลาเดินทาง ก็ควรจะจัดส่งผ่านไปรษณีย์ หรือ ขนส่งตามความเหมาะสม
การจัดส่งสินค้าถึงผู้บริโภค สามารถนำมาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาดได้ เช่น การสั่งซื้อทางโทรศัพท์ แล้วจัดส่งให้ถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทันใจ ส่วนใหญ่       จะเป็นพวกอาหาร FAST FOOD อาทิเช่น KFC, PIZZA HUT เป็นต้น ซึ่งเราสามารถ     นำมาประยุกต์เข้ากับร้านยาได้ เป็นการเพิ่มและอำนวยความสะดวกใช้แก่ลูกค้า และยังสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกค้าไม่สบาย และอยู่คนเดียวในบ้าน   ไม่สะดวกเดินทางมาซื้อยา ก็สามารถโทรศัพท์มาปรึกษา ให้จัดยาเพื่อบำบัดอาการ   เบื้องต้น พร้อมส่งให้ถึงบ้าน ซึ่งสามารถช่วยบำบัดหรือบรรเทาอาการได้ระดับหนึ่ง ลูกค้าจะประทับใจในบริการของเรา ถึงแม้จะคิดค่าบริการ ลูกค้าก็พอใจ หากช่วยลดความทุกข์ให้เขาได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More