CLINIC JANISTAR

คลินิก เจนนิสตา เป็นคลินิกเสริมความงาม

BLACK CANYON COFFEE

ร้าน black canyon coffee เป็นการตกแต่งร้านกาแฟ ที่ดูทันสมัย

ร้านยา ชัชชัย

ร้านยา ชัชชัย จ.จันทบุรี เป็นการตกแต่งร้านยาแนวใหม่ มีความทันสมัย สวยงาม

โรงพยาบาลสัตว์ ศ. เมืองเอก

โรงพยาบาลสัตว์ ศ. เมืองเอก ลำลูกกา จ. ปทุมธานี

เภสัชมหิดล

ร้านยา เภสัชมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

วัสดุปูพื้นยอดนิยม

สวัสดีครับหลังจากที่แนะนำส่วนต่างๆของบ้านไปหลายตอนแล้ว ในตอนนี้ขอแนะนำส่วนที่เราใช้งานอยู่ทุกวันก็ว่าได้ นั่นคือ “พื้น” หรือเรียกว่าใช้งานตลอดเวลาก็ได้ เพราะเราต้องเดินอยู่บนพื้นบ้าน และพื้นก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย เพราะพื้นไม่เพียงครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในบ้าน แต่ยังทำหน้าที่รองรับน้ำหนักกดทับต่าง ๆ ด้วย จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

          ดังนั้นการเลือกวัสดุปูพื้นก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน ในท้องตลาดปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการปูพื้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป การจะตัดสินใจเลือกใช้ก็ควรคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ในการใช้สอยภายในบ้านของเรา วันนี้ผมจะเสนอแนะวัสดุปูพื้นที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน




          1. ไม้ (Solid Wood) หรือไม้จริงทั้งแผ่น โดยชนิดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้สัก มีคุณสมบัติเด่น คือมีความแข็งแรงทนทาน มีสีสันสวยงามเป็นธรรมชาติ และยังสามารถขัดหรือทำสีใหม่ได้อยู่ตลอดแม้ใช้ไปนานวัน ราคาพื้นไม้โดยทั่วไปออกจะแพงไปซักหน่อย แต่ก็ให้ความรู้สึกดีมาก ให้ผิวสัมผัสที่ดี ราคาไม้ที่แพงในปัจจุบันเนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่หายากขึ้น แต่ก็มีการใช้วัสดุอื่นมาทดแทนไม้แผ่น โดยที่ผมจะแนะนำในข้อต่อไปนะครับ 


          ส่วนข้อควรระวังของพื้นไม้จะต้องระวังเรื่องความชื้น ถ้าเปียกต้องรีบเช็ดและระวังรอยขีดข่วนอาจเกิดขึ้นง่าย นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องการยืดหดตัวด้วย ปัจจุบันการปูพื้นจะปูทับลงไปบนพื้นคอนกรีตเลย ทำให้ไม่มีเสียงดังเวลาเดิน


          2. ไม้ปาร์เก้ คือ ชิ้นไม้เล็กๆ ที่ทำมาจากไม้จริงนั่นเอง แต่มีขนาดเล็กกว่าไม้พื้นชนิดแผ่นมาก จึงมีราคาถูกกว่า เพราะสามารถใช้เศษไม้ที่เหลือจากการทำไม้แผ่น มีทั้งแบบเข้าลิ้นรอบ และไม่เข้าลิ้น สามารถเลือกรูปแบบลวดลายในการปูได้ พื้นไม้ปาร์เก้นั้น นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมาทำ เพื่อประโยชน์ด้านความทนทาน และการรองรับน้ำหนัก มักนิยมใช้ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้สักมาทำไม้ปาร์เก้ โดยไม้แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป


           ไม้สัก เป็นไม้ที่นิยมนำมาทำไม้ปาร์เก้น้อยกว่าไม้แดงและไม้มะค่ามาก เนื่องจากไม้สักจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน ทำให้รับน้ำหนักได้ไม่ค่อยดี และเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย และยังหายาก และมีราคาสูง แต่ข้อดีของไม้สักที่เหนือกว่าไม้มะค่า และไม้แดงคือ เป็นไม้ที่มีลายไม้สวยงาม ปลวกไม่ขึ้น



         ไม้มะค่า เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดในการนำมาทำไม้ปาร์เก้ เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็ง รับน้ำหนักได้ดีมาก ลายไม้สวยงามมองเห็นได้ชัดเจน เนื้อไม้เหนียวไม่เปราะ หรือขยายตัวได้ง่ายๆ คุณสมบัติโดยรวมถือว่าดีกว่าไม้แดงมาก เพราะรับน้ำหนักได้ดีกว่า และไม่ขยายตัวได้ง่ายเหมือนไม้แดง แต่ก็มีราคาสูงกว่าไม้แดงเช่นกัน
          ไม้แดง เป็นไม้ชนิดนึงที่นิยมนำมาทำเป็นไม้ปาร์เก้ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง รองรับหน้ำหนักได้ดีไม่ยุบตัวง่าย แต่ก็มีข้อเสียที่สีของไม้ค่อนข้างเข้ม ทำให้มองเห็นลายไม้ไม่ชัดเจน และเนื้อไม้เกิดการขยายตัวได้ง่าย ทำให้ปาร์เก้ไม้แดง เป็นปาร์เก้ที่ราคาไม่สูงนัก
           3. ไม้ลามิเนต เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับไม้จริง โดยนำเยื่อไม้มาบดละเอียดและอัดขึ้นมาเป็นแผ่น มีต้นกำเนิดจากประเทศในแถบยุโรป โดยมีประเทศเยอรมนีเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการผลิต เป็นวัสดุปูพื้นที่มาทดแทนไม้ปาร์เก้ และไม้จริง โดยมีข้อดีกว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นดังนี้
1. เวลาการติดตั้งที่รวดเร็วกว่า 
2. ผิวหน้าสามารถทนทาน ต่อรอยขูดขีด แรงกดกระแทกได้ดีกว่า 
3. สามารถเลือกสีผิวหน้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการได้ ในขณะที่ไม้ปาร์เก้มีตาไม้จริง ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 
4. ผิวหน้าไม่ทำให้ลื่นล้ม 
5. สามารถทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง ทนต่อสารเคมี และไม่ติดไฟ 
6. พื้นไม่เก็บฝุ่นและเชื้อโรค ต่างจากพรม และกระเบื้อง 
7. ทำความสะอาดได้ง่าย 
8. เหมาะกับการใช้งานในร่ม ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ห้องประชุม ทั้งนี้ควรเลือกรุ่นความแข็งแรงให้เหมาะสม 
9. สามารถปูซ้ำใหม่ได้ทันทีหากต้องการโยกย้าย
           แต่ข้อเสียของพื้นไม้ลามิเนต คือ ไม่สามารถทำการขัดสีผิวหน้าของพื้นไม้ลามิเนตออกแล้วย้อมสีใหม่เหมือนกับไม้ จริง และอายุการใช้งานน้อยเพียง 10-15 ปี

           4. กระเบื้องเซรามิค นั้นมีผิวมันเงาและสีสดกว่ากระเบื้องคอนกรีต และด้วยเทคโนโลยีการผลิตกระเบื้องจากวัสดุเซรามิคพร้อมกับเคลือบสีและเผาด้วยอุณหภูมิสูง จึงทำให้กระเบื้องเซรามิคมีความแข็งแกร่งทนทาน น้ำหนักเบา กันน้ำได้ดี ทำความสะอาดง่าย ติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายใน 

           และในปัจจุบันมีผู้นิยมปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิคส์มากขึ้นเนื่องจากมีลวดลายต่าง ๆ มากมายให้ได้เลือกใช้ ตลอดจนหาซื้อได้ง่าย และต้องพิถีพิถันในการเลือกช่างที่จะมาปูกระเบื้อง ตลอดจนกลเม็ดเทคนิควิธีในการปูกระเบื้อง 

           ทำให้ปัญหาของการปูกระเบื้องเซรามิคก็คือ กระเบื้องมักขาดตลาดในลายที่ต้องการ และหากเสียหาย แตกหักภายหลัง จะหามาทดแทนไม่ได้ จึงควรเก็บสต็อคกระเบื้องที่ใช้ไว้บ้าง กระเบื้องเซรามิคให้ความรู้สึกค่อนข้างแข็ง และเย็นเท้า จึงไม่เหมาะกับการใช้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น แต่จะไปใช้ในห้องครัวหรือห้องน้ำมากกว่า



5. กระเบื้องยาง ทำจากยางพีวีซี เปรียบเทียบกับกระเบื้องเคลือบแล้วกระเบื้องยางมีข้อดี คือประหยัดกว่าและให้สัมผัสที่นุ่มนวลกว่า ติดตั้งและปรับเปลี่ยนง่าย ราคาต่ำ แต่ข้อเสียคือ พื้นผิวยางสึกหรอและเป็นรอยขีดข่วนง่าย หลุดล่อนง่ายแต่ก็ซ่อมแซมได้ง่าย อายุใช้งานสั้น พื้นผิวที่จะปูกระเบื้องยางต้องราบเรียบเสมอกัน เพราะกระเบื้องจะเป็นลอนได้ แต่กระเบื้องยางมักไม่นิยมใช้ปูในบ้านเพราะความรู้สึกดูไม่หรูหราภูมิฐาน จะใช้ในสำนักงานมากกว่า

6. พรม เป็นวัสดุปูพื้นที่ให้ความรู้สึก หรูหรา นุ่มนวล สวยงาม ติดตั้งง่าย แต่ดูแลรักษายากและมีอายุการใช้งานสั้นจึงเหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการเปลี่ยน บรรยากาศบ่อย ๆ เหมาะสำหรับห้องนอน ห้องพักผ่อน มีให้เลือกหลายชนิด อาทิ ขนสัตว์ ไนล่อน ใยสังเคราะห์ พรมช่วยดูดซับเสียง เป็นฉนวนชั้นดี ติดตั้งง่าย มีทั้งแบบเป็นผืนใหญ่และแผ่นเล็กที่สะดวกต่อการซ่อมแซมเป็นแผ่นๆไป 

          หากคิดจะเลือกใช้พื้นพรมในบ้านต้องพึง ระวังไว้ว่า พรมส่วนใหญ่แทบทุกชนิดนั้นเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย เป็นเชื้อไฟได้อย่างดี การปูพรมจึงควรเลือกปูเป็นจุดๆ ในพื้นที่ที่ต้องการความสวยงามและต้องการเน้นเป็นพิเศษ ไม่ควรปูพรมเป็นพื้นทั่วทั้งบริเวณบ้านเพราะพรมของท่านอาจจะกลายเป็นเชื้อไฟ ได้อย่างดีเมื่อเกิดอัคคีภัย




7. หินอ่อน-หินแกรนิต เป็นหินธรรมชาติ มีความแข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะหินแกรนิตจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าหินอ่อน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดูแลรักษาง่าย ให้ความประณีตสวยงามเนื่องจากแนวเส้นรอยต่อระหว่างแผ่นมีขนาดเล็ก มีสีสันให้เลือกมากมาย ดูหรูหรา เหมาะกับห้องรับแขก หินอ่อนไม่เหมาะกับภายนอก แต่หินแกรนิตปูได้ทั้งภายในและภายนอก
          ข้อเสียของวัสดุชนิดนี้ คือมีราคาแพง ให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างไม่นุ่มนวล เกิดริ้วรอย และเปรอะเปื้อนได้ง่าย และยังมีปัญหาเรื่องความลื่นเมื่อถูกน้ำ



 
8. หินขัด เป็นวัสดุที่สามารถสร้างลวดลายสีสันได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของหิน ขนาดของหิน และสีที่ผสมลงไป แข็งแรง ทนทานมาก ดูแลรักษาง่าย มีลวดลายในตัวจึงไม่ค่อยสกปรกง่าย สามารถใช้งานทั้งในร่มและงานออกแดด มีลวดลายที่สวยงามตามธรรมชาติเหมาะสำหรับตกแต่งทางเดิน พื้นสวนหรือจะเป็นพื้นในบ้าน 
          แต่ปัจจุบันตามบ้านเรือนทั่วไปไม่ค่อยนิยมทำพื้นหินขัดกันแล้วเพราะมีวัสดุทดแทนที่ให้ความสวยงามหรูหราและดูมีรสนิยมกว่า สามารถพบเห็นพื้นหินขัดได้ตามห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าต่างๆ เนื่องจากให้ความแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย และราคาไม่แพง


 9. อีพ็อกซี่ เป็นสารที่ใช้เคลือบผิวพื้นปูนอีกที ปกป้องรักษาพื้นผิวไม่ให้แตกร้าว มีคุณสมบัติพิเศษคือ พื้นไร้รอยต่อ แข็งแกร่งรับน้ำหนักได้ดีทนทานต่อกรด ด่าง และสารเคมีทุกชนิด ปราศจากฝุ่น ทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นเชื้อรา มีหลายสีให้เลือกและทำผิวได้หลายแบบทั้ง ผิวเรียบมัน ผิวหยาบ ผิวมันเงาและผิวด้าน มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูดิบ เท่ห์ ปัจจุบันก็มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นทั้งในบ้านและสำนักงาน


          เป็นอย่างไรบ้างครับ วัสดุปูพื้นนั้นมีให้เราเลือกหลากหลาย บางประเภทก็เหมาะเฉพาะพื้นที่ บางประเภทเหมาะกับงานภายนอกบ้าน หรือภายในบ้าน ดังนั้นก่อนเลือกใช้วัสดุปูพื้นเราควรศึกษาคุณสมบัติต่างๆให้ละเอียด และปัจจุบันก็มีวัสดุใหม่ๆที่ถูกผลิตขึ้นทุกวัน ซึ่งก็มีความแปลกใหม่แตกต่างกันไป แต่ในการจะนำมาใช้ในบ้านเราให้เหมาะสมนั้น ก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจนำมาใช้นะครับ นอกจากนั้นยังต้องหมั่นดูแลรักษาให้ถูกวิธี เพื่อให้พื้นสวยสะอาดอยู่กับบ้านเราไปนานๆ





ที่มา : website bareo-isyss

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการปูพื้นและการเลือกใช้วัสดุปูพื้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการปูพื้นและการเลือกใช้วัสดุปูพื้น

            เนื่องจากงานปูพื้นมีความหลากหลายทั้งในแง่ของรูปแบบ การใช้งาน และวัสดุปูพื้นที่ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของ วัสดุปูพื้นที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดซึ่งมีให้เลือกอย่างมากมาย และวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ในการเลือก วัสดุปูพื้นสำหรับบ้านแต่ละหลังจึงมีแง่มุมต่างๆ อยู่มากมายที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อการเลือกวัสดุปูพื้นให้เหมาะสมกับความต้องการ และการใช้งาน

            1. การเลือกวัสดุปูพื้นไม่ควรจะมองในแง่ของความสวยงามเพียงอย่างเดียวแต่ควรมองในแง่ของประโยชน์ใช้สอยและการดู แลรักษาด้วย เช่น บริเวณที่อาจมีการเปียกน้ำได้ง่าย หรือมีความเสี่ยง ต่อการเกิดน้ำท่วมก็ไม่ควรปูพื้นด้วยพรมหรือไม้ปาร์เกต์ บริเวณที่จะต้องถูกน้ำอยู่เสมอและเสี่ยงต่อการลื่นหกล้มเช่นห้องน้ำก็ไม่ควรปูพื้นด้วยหินหรือกระเบื้องที่มีผิวลื่นเป็นมัน หรือบริเวณ ที่อาจเลอะเทอะเปรอะเปื้อนได้ง่ายหรือเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยเช่นห้องครัวก็ไม่ควรปูพื้นด้วยพรมเพราะพื้นพรมทำความสะอาดยาก และติดไฟง่าย เป็นต้น

            2. กระเบื้องเคลือบสำหรับปูพื้นหรือบุผนังตามท้องตลาดจะมีอยู่ 2 เกรดเนื่องจากการควบคุมคุณภาพในการผลิตกระเบื้องทำ ได้ยาก ดังนั้นจะมีกระเบื้องบางส่วนที่มีคุณภาพด้อยกว่ามาตรฐานในทุกๆ รุ่น ของการผลิต กระเบื้องที่มีคุณภาพดี มีขนาด รูปทรง สีสัน และลักษณะผิวตามที่กำหนดจะถูกคัดไปไว้เป็นกระเบื้องเกรด A ส่วนกระเบื้องที่มีขนาด รูปทรง และสีสันที่ผิดเพื้ยนไปบ้าง หรืออาจมี รอยตำหนิที่ผิวกระเบื้องบ้างแต่มิได้เกิดการแตกหักชำรุดจะถูกคัดไว้เป็นกระเบื้องเกรด B ซึ่งมีราคาถูกกว่า เวลานำไปปูพื้นต่อเนื่อง กัน การใช้กระเบื้องเกรด A จะให้สีสันและแนวรอยต่อของ เส้นที่สม่ำเสมอกว่าและให้พื้นผิวที่ดูเรียบร้อยกว่าการใช้กระเบื้องเกรด B มาก เวลาดูบ้านหรือตรวจสอบการก่อสร้างบ้านจึงควรตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ด้วยว่ามีการนำกระเบื้องคนละเกรดมาใช้แทนกันบ้างหรือ ไม่


            3. ในกรณีที่มีการปูกระเบื้องเคลือบในห้องน้ำ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการปูกระเบื้องพื้นและบุกระเบื้องผนังควบคู่กันไป การปู กระเบื้องดังกล่าว มักจะต้องวางแนวรอยต่อของกระเบื้องปูพื้น และกระเบื้องบุผนัง ให้เป็นแนวเดียวกันเพื่อความสวยงาม การเลือก กระเบื้องปูพื้นและกระเบื้องบุผนังควรจะใช้กระเบื้องยี่ห้อเดียวกันหรือถ้าจะใช้กระเบื้องต่างยี่ห้อกันเนื่องจากต้องการเลือกสีสัน และ ลวดลายที่ถูกใจก็ควรจะมี การทดสอบเปรียบเทียบตัวอย่างก่อนว่า กระเบื้องทั้ง 2 ยี่ห้อที่จะนำมาปูด้วยกันนั้นมีขนาดเท่ากันหรือไม่ เมื่อ นำมาปูแล้วสามารถรักษาระยะของรอยต่อ และความต่อเนื่อง ของแนวเส้นให้ดูสวยงาม กลมกลืนกันได้หรือไม่ เพราะมีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ ปลูกบ้านนำกระเบื้อง 2 ยี่ห้อมาใช้ด้วยกันโดยไม่ได้เทียบขนาดก่อน ปรากฎว่ากระเบื้องทั้ง 2 ยี่ห้อมีขนาดผิดเพี้ยนกันมากถึงแม้ว่า จะมีการระบุขนาดโดยทั่วไปว่าเป็นขนาดเดียวกันก็ตามทำให้ไม่สามารถรักษาความกว้างของรอยต่อและความต่อเนื่องของแนวเส้นไว้ ได้เมื่อนำมาปูพื้นและบุผนังเรียงกัน ผลงานที่ออกมาจึงดูไม่สวยงาม







วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวปฏิบัติในการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ตอนที่ 1


ข้อกำหนดการเดินสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไป
   
การเดินสายบนผิวอาคาร

  
1 ใช้เดินสายระบบแรงต่ำทั่วไปภายในอาคาร โดยใช้สายไฟฟ้าตาม มอก.11
2 การเดินสายต้องป้องกันไม่ให้ฉนวนของสายชำรุด
3 การเดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย ต้องมีระยะห่างของเข็มขัดรัดสายไม่เกิน 20 เซนติเมตร
4 การต่อและการต่อแยกสายให้ทำในกล่องต่อสายสำหรับงานไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6.21 เท่านั้น
5 การเดินสายทะลุผ่านผนังหรือสิ่งก่อสร้าง จะต้องมีการป้องกันสาย โดยจะต้องร้อยสายผ่านปลอกฉนวนที่เหมาะสมและไม่ดูดความชื้นเพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าเสียหาย
6 การเดินสาย ให้ติดตั้งเรียงเป็นชั้นเดียว ห้ามซ้อนกัน
7 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนและเปลือกแกนเดียว สายแบน 2 แกน และสายแบน 3 แกน (VAF) ตาม มอก.11 ตารางที่ 2 หากเดินบนผิวภายนอกของอาคาร ยอมให้เฉพาะติดตั้งได้ชายคาหรือกันสาด





การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน
  
1 เป็นการเดินสายแบบเปิดโล่ง โดยใช้ตุ้ม ลูกรอก หรือลูกถ้วยเพื่อการจับยึด สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายเดี่ยวและต้องไม่ถูกปิดบังด้วยโครงสร้างของอาคาร
2 สำหรับระบบแรงต่ำ
(1) การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้ใช้ได้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม งานเกษตรกรรม และงานแสดงสินค้าเท่านั้น
(2) ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพตามข้อ 6.3.2 และสายต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
(3) การเดินสายในสถานที่ชื้น เปียกหรือมีไอที่ทำให้เกิดการผุกร่อน ต้องมีการจัดทำเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สายไฟฟ้าได้
(4) สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน
ยกเว้น สายที่ป้อนกำลังให้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้บนราง
(5) วัสดุฉนวนสำหรับการเดินสาย ต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
(6) การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ตารางที่ 6-4
(7) การเดินสายเปิดบนตุ้มภายนอกอาคาร ยอมให้เป็นไปตามที่กำหนดในตารางที่ 6-4 ของการเดินสายเปิดบนตุ้มภายในอาคาร หากเดินสายข้ามที่โล่งจะต้องใช้สายขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร และระยะระหว่างจุดจับยึดสายต้องไม่เกิน 5 เมตร
(8) การเดินสายเปิดบนลูกรอกหรือลูกถ้วยภายนอกอาคารให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ตารางที่ 6-5
3 สำหรับระบบแรงสูง
(1) การติดตั้ง ต้องจัดให้เข้าถึงได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
(2) ในกรณีที่ติดตั้งสายยึดโยง จะต้องติดตั้งลูกถ้วยยึดโยงในสายยึดโยงลูกถ้วยนี้ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร และต้องมีคุณสมบัติทางกลและทางไฟฟ้าเพียงพอกับสภาพการใช้งาน ตาม มอก.280 ภ
(3) การเดินสายต้องเป็นไปตามข้อ 6.6.2 (3) และ (5) ภ
(4) ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพและสายไฟฟ้าต้องอยู่เหนือพื้นดิน อาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตาม
ตารางที่ 3-4
(5) ลวดผูกสาย ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 4 มิลลิเมตร ถ้าเป็นสายเปลือยลวดผูกสายต้องเป็นชนิดที่ไม่ทำให้เกิดการผุกร่อน เนื่องจากโลหะต่างขนิดกัน


                                                           ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More